IRPC เผยปี 63 ขาดทุนหนัก 6,151.7 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 424%

Must read

IRPC เผยปี 63 ขาดทุนหนัก 6,151.7 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 424% หลังมีขาดทุนสต็อกน้ำมัน และบุ๊กค่าเสื่อมราคา และผลกระทบจากมาตรฐานบัญชีใหม่ ขณะที่รายได้จาการขายลดลง ตามราคาและปริมาณขายที่ลดลง พร้อมปันผล 0.06 บาท/หุ้น ขึ้น XD 22 ก.พ.64 วางงบลงทุน 5 ปี (64- 68) วงเงินรวม 36,251 ล้านบาท

บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC รายงานผลดำเนินงานปี 63 ขาดทุนสุทธิ 6,151.7 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 424% เมื่อเทียบกับปี 62 ที่มีผลขาดทุน 1,174 ล้านบาท

โดยบริษัทฯมีรายได้จากการขายสุทธิ 152,319 ล้านบาท ลดลง 30% จากราคาขายที่ลดลง 24% ตามราคาน้ำมันดิบ และปริมาณขายลดลง 6% โดยโรงกลั่นน้ำมันมีอัตราการกลั่นอยู่ที่ 192,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลง 3% เนื่องจากบริษัทได้ปรับแผนการผลิตเพื่อลดผลกระทบจากความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากผลกระทบโควิด-19

บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตตามราคาตลาด (Market GIM) อยู่ที่ 19,414 ล้านบาท (8.78 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล) ลดลง 1% เมื่อเทียบกับปีก่อน จากความต้องการสินค้าและส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ลดลงอย่างมาก ขณะที่ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าในปี62 ปรับตัวดีขึ้นในปีนี้ จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์กลุ่มเวชภัณฑ์ กลุ่มบรรจุภัณฑ์ รวมถึงกลุ่มเครื่องใช้ในบ้าน จากพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

บริษัทมีผลขาดทุนสต็อกน้ำมันสุทธิรวม 1,589 ล้านบาท หรือ 0.72 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีกำไรจำกสต๊อกน้ำมันสุทธิ 614 ล้านบาท ส่งผลใหบ้ ริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตทางบัญชี (Accounting GIM) จำนวน 17,825 ล้านบาท หรือ 8.06 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ลดลง 12% เมื่อเทียบกับปีก่อน มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 13,934 ล้านบาท ลดลง 6% ส่วนใหญ่ลดลงจากค่าใช้จ่ายพนักงาน ส่งผลให้มีกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) จำนวน 4,692 ล้านบาท ลดลง 21%

บริษัทฯ บันทึกค่าเสื่อมราคาจำนวน 8,952 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากโครงการปรับปรุงและขยายงานที่แล้วเสร็จ เช่น โครงการ Catalyst Cooler และ โครงการ Floating Solar นอกจากนี้ยังมีผลขาดทุนจากการทำสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน 419 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนมีกำไร 969 ล้านบาท ขณะที่ต้นทุนทางการเงินมีจำนวน 1,847 ล้านบาท ลดลง 3%จากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลง

นอกจากนี้ตามมาตรฐานบัญชีใหม่ บริษัทยังมีผลขาดทุนจากการบริหารความเสี่ยงน้ำมันที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง 961 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานบัญชี TFRS9 บันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าและจำหน่ายทรัพย์สิน 535 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากการบันทึก้อยค่างานระหว่างก่อสร้างชะลอโครงการ Maximum Aromatics (Mars)

สำหรับไตรมาส 4/63 มีกำไรสุทธิ 1,608 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 413% จากช่วงเดียวกันปี 62 ที่มีผลขาดทุนสุทธิ 513 ล้านบาท

โดยไตรมาส 4/63 บริษัทมีรายได้จากการขายสุทธิ 40,661 ล้านบาท ลดลง 19% จากช่วงเดียวกันีปก่อน เนื่องจากราคาขายลดลง 19% โรงกลั่นน้ำมันมีอัตราการกลั่น 197,000 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 3% Market GIM เพิ่มขึ้น 2,539 ล้านบาท หรือ 70% จากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

บริษัทมีกำไรจากสต็อกน้ำมันทุธิเพิ่มขึ้น 627 ล้านบาท ส่งผลให้ Accounting GIM เพิ่มขึ้น 3,166 ล้านบาท หรือ 73% ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง 17 ล้านบาท ส่งผลให้ EBITDA เพิ่มขึ้น 3,238 ล้านบาท

สำหรับแนวโน้มปี 64 คาดการณ์ความต้องการใชน้ำมันของโลกอยู่ที่ 99.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 6.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปีที่แล้วที่อยู่ที่ 93.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากสถานการณืแพร่ระบาดโควิด-19 มีแนวโน้มคลี่คลาย เริ่มมีการนำวัคซีนมาใช้ในบางประเทศส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโลก โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบปี 64 อยู่ที่ 45-55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปรับตัวสูงขึ้นจากปี 63 ที่อยู่ที่ 42 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ทั้งนี้คณะกรรมการอนุมัติแผนการลงทุน 5 ปี (ปี 64- 68) วงเงินรวม 36,251 ล้านบาท แบ่งเป็น

1. โครงการ Ultra Clean Fuel (UCF) วงเงินลงทุนรวม 14,248 ล้านบาท
2. โครงการ Strengthen วงเงินลงทุนรวม 2,370 ล้านบาท
3.โครงการลงทุนทั่วไปและค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงโรงงาน วงเงินลงทุนรวม 11,242 ล้านบาท
4. อื่นๆ วงเงินลงทุน 8,391 ล้านบาท

ที่ประชุมคณะกรรมการยังอนุมัติการจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.06 บาท วันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล(XD) วันที่ 22 ก.พ.64 และกำหนดจ่าย วันที่ 20 เม.ย.64

- Advertisement -spot_img

More articles

- Advertisement -

Latest article