บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดลิสต์กองทุน SSF- RMF เพิ่มทางเลือกการลงทุน ลดหย่อนภาษีสิ้นปี

Must read

นายยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด (บลจ.เกียรตินาคินภัทร) เปิดเผยว่า กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) นั้น เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการออมในระยะยาว

โดยผู้ลงทุนได้มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนในทรัพย์สินประเภทใดก็ได้ ซึ่งถือเป็นข้อดี เนื่องจากผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้

รวมถึงสามารถจัดสัดส่วนพอร์ตการลงทุนได้ตามเหมาะสมของแต่ละบุคคล บลจ.เกียรตินาคินภัทร จึงได้นำเสนอกองทุน SSF และ RMF ที่ครอบคลุมทุกทรัพย์สิน ทั้งในและต่างประเทศ

เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกผสมผสานจัดพอร์ตการลงทุนที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการลงทุนระยะยาวได้ โดยปัจจุบัน บลจ.เกียรตินาคินภัทร นำเสนอกองทุน SSF และ RMF โดยแบ่งตามประเภททรัพย์สิน ดังนี้

  1. กองทุนรวมตลาดเงิน (ความเสี่ยงต่ำ) : ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและเงินฝากระยะสั้น*
    1. SSF: กองทุน KKP MP-SSF
    1. RMF: กองทุน KKP MMRMF
  2. กองทุนตราสารหนี้ (ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ) : ลงทุนในตราสารหน้าภาครัฐและเอกชน*
    1. SSF: กองทุน KKP ACT FIXED-SSF
    1. RMF: กองทุน INRMF
  3. กองทุนผสม (ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง) : ลงทุนในเงินฝาก ตราสารหนี้และหุ้น โดยผู้จัดการกองทุนจะปรับเปลี่ยนสัดส่วนตามสภาวะตลาด
    1. RMF: กองทุน KKP BLRMF
  4. กองทุนแบบ Asset Allocation (ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง) : กระจายการลงทุนในทรัพย์สินต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ ตราสารทุน ตราสารหนี้ ตลอดจนทรัพย์สินทางเลือก เช่น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทองคำ และน้ำมัน โดยแต่ละกองทุน มีการลงทุนในทรัพย์สินแต่ละประเภทในสัดส่วนที่แตกต่างกัน
    1. SSF: กองทุน KKP SG-AA Light-SSF, กองทุน HHP SG-AA-SSF และกองทุน KKP SG-AA Extra-SSF
    1. RMF: กองทุน KKP SG-AA RMF
  5. กองทุนตราสารทุนที่ลงทุนในประเทศ (ความเสี่ยงสูง) : ลงทุนในหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน*
    1. SSF: กองทุน KKP ACT EQ-SSF และกองทุน KKP SET50 ESG-SSF
    1. RMF: กองทุน KKP EQRMF
  6. กองทุนตราสารทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (ความเสี่ยงสูง) : กองทุน Feeder Fund ที่เน้นลงทุนในกองทุนรวมหลักในต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว*
    1. SSF: กองทุน KKP PGE-H-SSF และกองทุน KKP TECH-H-SSF
    1. RMF: กองทุน KKP GNP RMF-UH และกองทุน KKP GNP RMF-H
  7. กองทุนรวมหน่วยลงทุนอสังหาริมทรัพย์ (ความเสี่ยงสูงมาก) : ลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารที่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์*
    1. กองทุน KKP PROP-D-SSF
    1. กองทุน KKP PROPRMF

(*รายละเอียดนโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุนอาจแตกต่างกัน กรุณาศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในหนังสือ
ชี้ชวนที่ https://am.kkpfg.com)

“ด้านมุมมองการลงทุน บลจ.เกียรตินาคินภัทรมองว่าเศรษฐกิจโลกและไทย มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นในปี 2564 หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ดีขึ้นในหลายประเทศ การพัฒนาวัคซีนมีความคืบหน้าไปมากและคาดการณ์ว่าจะสามารถเริ่มผลิตใช้ได้ในช่วงต้นปี 2564

ส่งผลให้การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้นและหน่วยลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้รับผลกระทบรุนแรงจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นต่อตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและไทยในปี 2564

นอกจากนี้ ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาที่ โจ ไบเดน ชนะการเลือกตั้ง และพรรคเดโมแครทครองเสียงข้างมากในสภาล่าง ในขณะที่พรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากในวุฒิสภา ทำให้ตลาดมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของสหรัฐมากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีขนาดสูงขึ้น ในขณะที่การผ่านกฎหมายเกี่ยวกับการขึ้นภาษีหรือที่เป็นข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ จะทำได้ยากขึ้น และการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศกับนานาชาติในเชิงประนีประนอมมากขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มความผันผวนของตลาดการลงทุนลดลงในปีหน้า ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงโดยรวม” นายยุทธพล กล่าว

สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจกองทุน SSF และ RMF สามารถขอหนังสือชี้ชวน คู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม คู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการการเลี้ยงชีพ และข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขา หรือ KKP Contact Center โทร. 02 165 5555 และบริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร โทร. 02 305 9559 หรือ https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้งตามหนังสือชี้ชวน

คำเตือน :

  • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และควรศึกษาข้อมูลสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมและคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการการเลี้ยงชีพ รวมถึงกฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กองทุนที่ลงทุนต่างประเทศที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • บางกองทุนมีนโยบายเปิดให้มีการลงทุนในกองทุนรวมอื่นภายใต้ บลจ. เดียวกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์อันอาจเกิดจากนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการเดียวกัน
  • กองทุนที่จะทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด โดยไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ กองทุนจึงอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนที่ไม่ได้ทำการป้องกันความเสี่ยงไว้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ นอกจากนี้ การทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวอาจมีต้นทุน ซึ่งทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
  • กองทุนมีนโยบายการลงทุนเฉพาะเจาะจงในหมวดอุตสาหกรรมจึงมีความเสี่ยงและความผันผวนของราคาสูงกว่ากองทุนรวมทั่วไปที่มีการกระจายการลงทุนในหลายอุตสาหกรรม
- Advertisement -spot_img

More articles

- Advertisement -

Latest article